ReadyPlanet.com


ภาษีรถยนต์ VS พ.ร.บ. รถยนต์ ต่างกันอย่างไร


 Mr.OOHOO เชื่อว่ายังมีคนสับสนว่าระหว่างป้ายภาษี และ พ.ร.บ. นั้นต่างกันอย่างไร และมีหน้าที่สำคัญอย่างไร บทความนี้ Mr.OOHOO จะพาไปไขข้อข้องใจ ป้ายภาษี กับ พ.ร.บ. ใช่อันเดียวกันหรือไม่ ต่างกันยังไง ต้องดู!

 
รู้หรือไม่ว่า “ไปต่อทะเบียน” ที่หลายคนคุ้นหู 
หมายถึงต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ Mr.OOHOO มีคำตอบ
 
        ปกติคนส่วนใหญ่นิยมทำทั้งสองอย่างนี้ไปพร้อมกัน แต่จริง ๆ แล้วการไปต่อทะเบียน หมายถึงการต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งแตกต่างกับการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ อย่างสิ้นเชิง มีเพียงสิ่งเดียวที่เหมือนกัน คือ ต้องจ่ายทุกปีและถ้าไม่ต่อก็จะมีโทษตามกฎหมาย
 
ภาษีและ พ.ร.บ คืออะไร
        สำหรับภาษีรถยนต์ คือ ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถทุกคนต้องดำเนินการชำระทุกปี เพื่อนำเงินไปดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการที่จะจ่ายภาษี ต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ให้เรียบร้อยก่อน เพื่อนำเอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ ไปต่อภาษี ส่วนระยะเวลาที่ผู้ขับขี่ต้องต่อภาษี สามารถเช็กได้ง่าย ๆ จากวันหมดอายุที่เขียนไว้บนป้ายภาษีหรือที่เรียกว่าป้ายวงกลมหน้ารถได้เลย
วิธีการเก็บภาษี
        รถแต่ละประเภทก็จะมีอัตราค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป โดยกรมการขนส่งทางบกจัดเก็บภาษีในอัตราต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ รถยนต์ พ.ศ. 2522 เช่น รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี) และรถยนต์ประเภทอื่นจัดเก็บเป็นรายคัน เป็นต้น
1.จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 
- 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท
- 601 – 1,800 ซีซี ซีซีละ 1.50 บาท
- เกิน 1,800 ซีซี ซีซีละ 4.00 บาท
รถของนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ    
- จ่ายภาษี 2 เท่า 
รถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี จะได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้
- ปีที่ 6 ร้อยละ 10
- ปีที่ 7 ร้อยละ 20
- ปีที่ 8 ร้อยละ 30
- ปีที่ 9 ร้อยละ 40
- ปีที่ 10 ขึ้นไป ร้อยละ 50
 
2.จัดเก็บเป็นรายคัน
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
- รถพ่วงข้างจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท 
- รถพ่วงชนิดอื่น คันละ 100 บาท
- รถบดถนน คันละ 200 บาท
- รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท
 
3.จัดเก็บตามน้ำหนัก 
3.1 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) ไม่เกิน 500 คันละ 150 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 501 - 750 คันละ 300 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 751 - 1,000 คันละ 450 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,001 - 1,250 คันละ 800 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,251 - 1,500 คันละ 1,000 บาท
 
3.2 รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดและรถยนต์บริการ
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) ไม่เกิน 500 คันละ 450 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 501 - 750 คันละ 750 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 751 - 1,000 คันละ 1,050 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,001 - 1,250 คันละ 1,350 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,251 - 1,500 คันละ 1,650 บาท
 
3.3 รถยนต์รับจ้าง
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) ไม่เกิน 500 คันละ 185 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 501 - 750 คันละ 340 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 751 - 1,000 คันละ 450 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,001 - 1,250 คันละ 560 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,251 - 1,500 คันละ 685 บาท
 
3.4 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล  รถยนต์ลากจูงและ รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) ไม่เกิน 500 คันละ 300 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 501 - 750 คันละ 450 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 751 - 1,000 คันละ 600 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,001 - 1,250 คันละ 750 บาท
น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,251 - 1,500 คันละ 900 บาท
 
รถยนต์พลังงานไฟฟ้า EV
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- รถพลังงานไฟฟ้าอื่น ๆ ให้เก็บภาษีครึ่งหนึ่งของการเก็บรายคันและตามน้ำหนัก
 
 รถยนต์ไฟฟ้า EV ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน
- น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 30 บาท
- น้ำหนัก 501 - 750 กก. ต้องเสียภาษี 60 บาท
- น้ำหนัก 751 - 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 90 บาท
- น้ำหนัก 1,001 - 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 160 บาท
- น้ำหนัก 1,251 - 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 200 บาท
 
ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า EV ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน 7 คน
- น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 15 บาท
- น้ำหนัก 501 – 750 กก. ต้องเสียภาษี 30 บาท
- น้ำหนัก 751 - 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 45 บาท
- น้ำหนัก 1,001 - 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 80 บาท
- น้ำหนัก 1,251 - 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 100 บาท
 
ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า  EVประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน
- น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 150 บาท
- น้ำหนัก 501 - 750 กก. ต้องเสียภาษี 300 บาท
- น้ำหนัก 751 - 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 450 บาท
- น้ำหนัก 1,001 - 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 800 บาท
- น้ำหนัก 1,251 - 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 1,000 บาท
 
ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า  EV ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน 7 คน
- น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 75 บาท
- น้ำหนัก 501 - 750 กก. ต้องเสียภาษี 150 บาท
- น้ำหนัก 751 - 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 225 บาท
- น้ำหนัก 1,001 - 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 400 บาท
- น้ำหนัก 1,251 - 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 500 บาท
 
        ดังนั้น รถยนต์ทุกคันจะต้องมี ป้ายภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์ เพื่อการประกันภัยต่อตัวรถ บุคคล และที่สำคัญทั้ง 2 อย่างนี้ จำเป็นต้องทำทุกปีตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ เพราะถ้าหากรถคันไหนไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ ความคุ้มครองและการชดเชยค่าเบิกจ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็จะไม่สามารถทำได้ และจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ด้วยเช่นกัน
        หากใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์ ต้องการต่อประกันรถยนต์ Mr.OOHOO ขอแนะนำ OOHOO.io ประกันออนไลน์ ช่วยคุ้มครองรถยนต์ของเพื่อน ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ชั้น 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ชั้น 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว และใครที่กำลังมองหาการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ที่คุ้มค่า รีบมาเช็กราคาประกันที่หน้าเว็บไซต์ OOHOO.io ได้เลย!
 
ข้อมูล : portal, viriyah
 


ผู้ตั้งกระทู้ mr.oohoo (webbroad2-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2024-01-12 10:14:14 IP : 171.103.172.250


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2013 All Rights Reserved.